วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณีการกินแกงขี้เหล็กของคนนครชุม


ประโยชน์และสรรพคุณของต้นขี้เหล็ก




ความเชื่อของคนนครชุม กับการกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือนสิบสอง


1.ทำไมต้องกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือนสิบสอง
       คนนครชุมตั้งแต่โบราณมาเชื่อกันว่า ในวันที่พระจันทร์เต็มดวงจะทำให้สารอาหารและสรรพคุณทางยาถูกดึงดูดขึ้นไปที่ยอด ทำให้ได้กินแกงขี้เหล็กที่มีประโยชน์ที่สุด


2.สรรพคุณทางยาของขี้เหล็กเป็นอย่างไร
       แก้ท้องผูก แก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต และทำให้เจริญอาหาร


3.ทำไมต้องทำพิธีขอขี้เหล็กก่อนเก็บ
        เพราะดอกและยอดนั้นเปรียบเสมือนลูกของต้นขี้เหล็กจะไปเก็บเฉยๆไม่ได้ ต้องทำการบอกต้นขี้เหล็ก ซึ่งเปรียบเสมือนแม่ก่อน


4.พิธีการขอขี้เหล็กก่อนจะเก็บนั้นทำอย่างไร
จุดธูปสามดอกและตั้งนะโมสามจบ ต่อจากทำการขออนุญาตเก็บยอดและยอดนั้นไปทำยา และขอพรจากต้นขี้เหล็ก ขอให้อาการเจ็บป่วยนั้นหาย


5.ทำไมต้องเก็บขี้เหล็กก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
       ให้เก็บตอนเช้ามืดหรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เพราะพระจันทร์นั้นได้ดูดสารอาหารและสรรพคุณทางยาขึ้นมาที่ยอด เมื่อพระจันทร์ได้ผ่านหายไปสรรพคุณทางยาอาจไม่ได้อยู่ที่ยอดและดอกมากนัก อาจทำให้สรรพคุณของขี้เหล็กไม่ขลัง



วิธีทำแกงขี้เหล็ก


ต้มใบและดอกขี้เหล็กให้หายขม 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง แล้วแต่ชนิดของขี้เหล็ก ถ้ายอดขาวจะขมน้อยกว่ายอดแดงนำมาต้มแล้วบีบน้ำให้สะเด็ดพักไว้ จากนั้นผัดน้ำพริกแกงกับหัวกะทิจนหอมเต็มที่ละน้อย ไม่ให้แตกมันมากนักใส่หมูย่าง หรือปลาย่าง  ลงเคล้าให้เข้ากัน เติมเกลือ เติมหางกะทิลงไปพอเดือด ใส่ขี้เหล็ก เดือดพอดีแล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ ชิมรสตามชอบแกงขี้เหล็กข้นหน่อย รสเค็มนำ เผ็ดน้อย จึงจะอร่อย


1.ต้มใบและดอกขี้เหล็กให้หายขม 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง


2. บีบน้ำให้สะเด็ดพักไว้

4.ผัดพริกแกงกับหัวกะทิจนหอมใส่หมูย่างหรือปลาย่าง 
ลงเคล้าให้เข้ากัน เติมเกลือ เติมหางกะทิลงไปพอเดือด ใส่ขี้เหล็ก



5.พร้อมเสิร์ฟ



การสำรวจความรู้


การทำไม่ให้ขี้เหล็กขม
ต้มใบและดอกขี้เหล็กและใส่เกลือ
ช่วยให้ขี้เหล็กไม่มีรสขม

*กระบวนการต้มน้ำทำแกงขี้เหล็กคือการต้มน้ำด้วยน้ำเกลือ ผลการศึกษาพบว่าใบอ่อนขี้เหล็กที่ต้มแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเนื้อสัมผัสนิ่มขึ้นและทําให้แอนไฮโดรบาราคอลลดลงเมื่อต้มน้ำหลายครั้งใบอ่อนที่ต้มด้วยน้ำใบอ่อนต้มด้วยน้ำกับเกลือทำให้ความขมลดลง

การทำให้เป็นสมุนไพร
1.สรรพคุณของขี้เหล็ก
           ดอก
- รักษาโรคเส้นประสาทนอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย
- รักษาหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ
- รักษารังแค ขับพยาธิ
           ราก 
- รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บขา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง
         ลำต้นและกิ่ง 
- เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขา
ทั้งต้น 
- แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
         เปลือกต้น 
- รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัย ใช้เป็นยาระบาย
           แก่น
- รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคหนองใน ใช้เป็นยาระบาย
- รักษาวัณโรค รักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร
           ใบ
- รักษาโรคบิด โรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง
- รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย
- รักษาอาการนอนไม่หลับ
           ฝัก 
- แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง
         เปลือกฝัก 
- แก้เส้นเอ็นพิการ
         ใบแก่ 
- ใช้ทำปุ๋ยหมัก

2.ยาสมุนไพร
         1.)อาการท้องผูก ใช้แก่นขี้เหล็กราว 1 กอบ(ประมาณ 50 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารหรือก่อนนอน
         2.)อาการนอนไม่หลับ กังวล เบื่ออาหาร ให้ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใช้ใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำรับประทานก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า ใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก ทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนนอน (และอย่ากินเยอะเดี๋ยวเมา)
                



การทำให้รสชาติเปลี่ยน
ส่วนผสมของขี้เหล็ก
1.ใส่กะทิ
ทำให้รสชาติกลมกล่อมเข้มข้น
2.ใส่โปรตีน(เนื้อหมู)
เพิ่มโภชนาการทางอาหาร
3.ใส่พริกแกง
เพิ่มรสชาติให้เผ็ดเล็กน้อย
4.ใส่เกลือ
ไม่ให้ขี้เหล็กขม
5.ใส่น้ำปลา
เพิ่มรสเค็มของแกงขี้เหล็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น